กิจกรรม 8 พฤศจิกายน 2553

ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อสอบข้อ 60 - 64 โดย save โจทย์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และนำไปลงในบทความบน Blog ของผู้เรียน
สืบค้นข้อมูล







เมื่อพิจารณาแผนที่โลกปัจจุบันพบว่า ทวีปแต่ละทวีปมีรูปร่างต่างกัน แต่เมื่อนำแผ่นภาพของแต่ละทวีป มาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดี เช่น ขอบตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้สามารถต่อกับขอบตะวันตก ของทวีปแอฟริกาใต้ได้อย่างพอดี เสมือนหนึ่งว่าทวีปทั้งสองน่าจะเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันออก อีกส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันตก และมีมหาสมุทร แอตแลนติกเข้ามาแทนที่ตรงรอยแยก แผ่นทวีปทั้งสองมีการเคลื่อนแยกจากกันเรื่อยๆ จนมีตำแหน่งและรูปร่างดังปัจจุบัน


สืบค้นข้อมูล
http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=11&ID=289

แผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากแรงเครียดภายในโลก  ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่ต่างกันอย่างมากระหว่างเปลือกโลก  และหินหลอมภายในโลกเมื่อแรงนี้กระทำต่อหินแข็งภายในโลกจะทำให้หินแตกออกเป็นแนว  เรียกว่า  แนวรอยเลื่อน(Fault)  เมื่อรอยเลื่อนนี้ขยับตัวก็จะปล่อยพลังงานออกมาอยู่ในรูปของการสั่นไหว  ซึ่งก็คือแผ่นดินไหวนั่นเอง  โดยปรกติรอยเลื่อนจะอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกไม่ปรากฎให้เห็นที่ผิวดิน  แต่มีเหมือนกันที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน  เช่น  รอยเลื่อนชานแอนเดรสที่แคลิฟอร์เนีย
บริเวณรอยเลื่อนเคลื่อนตัวนี้  จะเป็นที่รวมของศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากมาย  ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่คาดว่ายังมีการเคลื่อนตัวอยู่ในภาคตะวันตกและภาคเหนือของประเทศ  เช่น  รอยเลื่อนเมย - อุทัยธานี  รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์  รอยเลื่อนแม่ทา  และ รอยเลื่อนเหล่านี้จำเป็นต้องมีการศึกษาลักษณะการเคลื่อนตัว  ตลอดจนโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีก  และขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่ควรจะเกิดในแต่ละรอยเลื่อน  เพื่อการวางแผนป้องกันภัยอันอาจจะเกิดขึ้น ในบริเวณที่มีอัตราเสื่ยงต่อแผ่นดินไหวสูง
    เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นพื้นดินจะถูกรบกวน  และเคลื่อนออกจากจุดกำเนิดในรูปของคลื่นความสั่นสะเทือน  เหมือนกับการโยน
กรวดลงในน้ำ  พื้นน้ำจะถูกคลื่นพัดพาไปเป็นระลอกจนกระทบฝั่ง  คลื่นแผ่นดินไหวก็เช่นเดียวกัน  จะคลื่นที่ไปจนกระทั่งพลังงานหมด
ไป  ฉะนั้นถ้าเรามีเครื่องมือที่มีความไวพอ  ก็สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวในระยะห่างไกลได้  เครื่องตรวจแผ่นดินไหวนี้จะมีประโยชน์
ในการหาตำแหน่ง  ขนาด  และความลึกของแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งได้  หากมีสถานีตรวจเกินสามแห่งขึ้นไป  ปัจจุบันกรมอุตุนิยม
วิทยามีสถานีตรวจแผ่นดินไหว 12  แห่ง  คือ  สถานีเชียวใหม่, สถานีเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก, สถานีนครสวรรค์, สถานีปากช่อง จังหวัด,
นครราชสีมา, สถานีอุบลราชธานี, สถานีเลย, สถานีเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี, สถานีหนองพลับ ประจวบคีรีขันธ์, สถานีสงขลา,
สถานีภูเก็ต และสถานีน่าน
    นอกจากนั้นยังมีเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน  เรียกว่า  Strong Motion Accelerograph  (SMA)  ติดตั้ง
ตามเขื่อนใหญ่ๆ อาคารสูงใน กทม. และเชียงใหม่
สืบค้นข้อมูล  http://www.krugoo.net/archives/386

ภูเขาเป็นธรณีสัณฐานลักษณะหนึ่งบนพื้นผิวโลกที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ส่วนภูเขาไฟเป็นภูเขาที่สามารถพ่นสารละลายร้อนและเถ้าถ่านตลอดจนเศษหินจากภายในโลกออกสู่พื้นผิวโลกได้ ภูเขาไฟมีทั้งชนิดที่ดับแล้วและที่มีพลังอยู่ ภูเขาไฟที่ดับแล้วเป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นมานานมากและวัตถุที่พ่นออกมาแข็งตัวกลายเป็นหินภูเขาไฟบนพื้นโลก ภูเขาจำนวนมากและเทือกเขาที่สำคัญของโลกหลายแห่งในปัจจุบันเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว ส่วนภูเขาไฟที่มีพลังเป็นภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่และอาจจะระเบิดอีก จากการสำรวจพบว่าในปัจจุบันยังคงมีภูเขาไฟที่มีพลังประมาณ 1,300 ลูก



ดาวฤกษ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออารยธรรมต่าง ๆ ทั่วโลกมานับแต่อดีตกาล โดยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา เป็นองค์ประกอบสำคัญในศาสตร์ของการเดินเรือ รวมไปถึงการกำหนดทิศทาง นักดาราศาสตร์ยุคโบราณส่วนใหญ่เชื่อว่าดาวฤกษ์อยู่นิ่งกับที่บนทรงกลมสวรรค์ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จากความเชื่อนี้ทำให้นักดาราศาสตร์จัดกลุ่มดาวฤกษ์เข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาวต่าง ๆ และใช้กลุ่มดาวเหล่านี้ในการตรวจติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ รวมถึงเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์[5] ตำแหน่งการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลัง (และเส้นขอบฟ้า) นำมาใช้ในการกำหนดปฏิทินสุริยคติ ซึ่งสามารถใช้เพื่อกำหนดกิจวัตรในทางการเกษตรได้ ปฏิทินเกรกอเรียน ซึ่งใช้กันอยู่แพร่หลายในโลกปัจจุบัน จัดเป็นปฏิทินสุริยคติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมุมของแกนหมุนของโลกโดยเทียบกับดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ ดวงอาทิตย์


                                                                                                                                                               สืบค้นข้อมูล
           ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็น น้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
   
ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C





                                                                                                                                                               สืบค้นข้อมูล

สุริยุปราคาหรือเรียกว่า  "สุริยคราส " เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อโลก  ดวงจันทร์  และดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน  โดยมีดวงจันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก  เงาของดวงจันทร์จะทอดยาวมายังโลก  ทำให้คนบนโลก(บริเวณที่มีเงาของดวงจันทร์)  มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง  หรือบางแห่งเห็นดวงอาทิตย์มืดหมดทั้งดวง  ช่วงเวลาที่เกิดสุริยุปราคาจะกินเวลาไม่นานนัก  เช่น  เมื่อวันที่  24  เดือนตุลาคม  พ.ศ.  2538  ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้นาน  3  ชั่วโมง  นับตั้งแต่ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าจนเคลื่อนออก   
สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลากลางวันและตรงกับวันแรม 15 ค่ำ หรือวันขึ้น 1 ค่ำ เท่านั้น  ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ในเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์จะมองเห็นดวงอาทิตย์มืด มิดทั้งดวงเรียกว่า "สุริยุปราคาเต็มดวง" ท้องฟ้าจะมืดไปชั่วขณะ  ในขณะที่ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบัง ไปบางส่วนเรียกว่า"สุริยุปราคาบางส่วน"   สำหรับการเกิดสุริยุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าปกติ ทำให้เงามืดของดวงจันท์ทอดตัวไปไม่ถึงพื้นโลก  แต่ถ้าต่อขอบของเงามืดออกไปจนสัมผัสกับพื้นผิวโลกจะเกิดเป็นเขตเงามัวขึ้น  ตำแหน่งที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวนี้จะมองเห็นสุริยุปราคาวงแหวนดวงจันทร์มี ขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก  แต่ที่เรามองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มิด  ก็เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์
ที่มา   http://school.obec.go.th/msp/dara7.htm





                                                                                                                                                                สืบค้นข้อมูล


สถานีอวกาศนานาชาติ เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างชาติ 16 ประเทศได้แก่  สหรัฐอเมริกา รัสเซีย บราซิล ญี่ปุ่น แคนาดา เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมันนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร โดยใช้เที่ยวบินทั้งสิ้น 44 เที่ยวบิน เพื่อที่จะนำชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ของสถานีอวกาศ ไปประกอบกันเป็น สถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใหญ่ที่สุดในอวกาศ เท่าที่มนุษย์เคยมีมา
หลักการของการนำชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ไปประกอบกัน เป็นสถานีอวกาศขนาดใหญ่นี้ ประเทศรัสเซียเป็นผู้บุกเบิก และมีประสบการณ์ด้านนี้ มากที่สุด โดยเฉพาะการขึ้นไปอาศัยอยู่ ในสถานีอวกาศ เป็นระยะเวลานาน ประเทศรัสเซีย มีประสบการณืด้านนี้ กว่า 30 ปีแล้ว โดยเฉพาะกับโครงการ สถานีอวกาศเมียร์ (Mir's Space Station)
โครงการ สถานีอวกาศนานาชาตินี้ เริ่มส่งชิ้นส่วนแรก ตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) และคาดว่า จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) ซึ่งเมื่อเสร็จแล้ว จะมีขนาดยาวประมาณ 88 เมตร (290 ฟุต) และความกว้างส่วนปีกประมาณ 109 เมตร (356 ฟุต) ซึ่งใหญ่กว่าสนามฟุตบอลเล็กน้อย โดยมีน้ำหนักรวม เกือบ 473 ตัน (ประมาณ 1 ล้านปอนด์) โดยมีนักบินอวกาศ และเจ้าหน้าที่ประจำ 7 คน โคจรรอบโลกด้วยความสูงเกือบ 400 กิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบโลกประมาณ 92 นาที 24 วินาทีต่อรอบ โดยที่ 2 ใน 3 ของแต่ละรอบ จะอยู่ด้านสว่าง ขณะที่อีก 1 ใน 3 ของรอบ จะอยู่ด้านมืด
ที่มา  http://www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=184&Itemid=31
 
สืบค้นข้อมูล
             กระสวยอวกาศ (อังกฤษ: space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศ ทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง
กระสวยอวกาศของ
สหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การยากูซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International.
สำหรับกระสวยอวกาศของ
สหภาพโซเวียต มีชื่อว่า บูราน (Buran - Бура́н แปลว่า พายุหิมะ) ปัจจุบันล้มเลิกโครงการไปแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ในสมัยประธานาธิบดีโบริส เยลท์ซิน เนื่องจากมีต้นทุนสูง และประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากปฏิบัติการเพียงหนึ่งครั้ง ใช้เวลาในอวกาศเพียง 3 ชั่วโมง
กระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดย ตลอด
ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า
ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูก สูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์
นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่
เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB ก็หมด และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักก็หยุด และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าก็ตกลงทะเลเครื่องยนต์ของจรวดสองลำก็ รับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร
เมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และมันก็จะออกจากการโคจรของมัน จะกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนใน การกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะ ช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วหยุดการบินของกระสวยอวกาศก็จบลง
แต่เดิมกระสวยอวกาศถูกสร้างขึ้นมา 4 ลำ คือ
แอตแลนติส (Atlantis) , ชาเลนเจอร์ (Challenger) , โคลัมเบีย (Columbia) และดิสคัฟเวรี (Discovery)
วันที่
28 มกราคม ค.ศ. 1986 กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ประสบอุบัติเหตุขณะบินขึ้น ภายหลังจึงมีการสร้างกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Endeavour) ขึ้นมาทดแทน
วันที่
1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 กระสวยอวกาศโคลัมเบียประสบอุบัติเหตุขณะกลับมายังโลก ปัจจุบันจึงมีกระสวยอวกาศใช้งานอยู่ 3 ลำ คือ แอตแลนติส, เอนเดฟเวอร์ และดิสคัฟเวรี

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8



2 ความคิดเห็น:

  1. ให้คะแนนตัวเองค่ะ

    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน = 18 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน = 9 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL) = 18 คะแนน
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม = 36 คะแนน

    รวม 90 คะแนน

    ตอบลบ