กิจกรรม 22 พฤศจิกายน 2553

กิจกรรม 22 - 26 พฤศจิกายน 2553
2. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล พร้อมที่มาของแห่งข้อมูลลงใน Blog ของตนเอง กำหนดส่งท้ายคาบเรียนที่ 2


สืบค้นข้อมูล
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี
ตอบ.....1.......



สืบค้นข้อมูล
หิน ( Rocks )
นักธรณีวิทยาจำแนกหินตามลักษณะการเกิดได้ 3 ประเภท ดังนี้หินอัคนี ( Igneous Rocks )หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวของแข็งตัวของหินหนืด หินหนืดเมื่ออยู่ภายในเปลือกโลกเรียกว่า แมกมา ( Magma ) และเมื่อผุดพ้นออกจากผิวโลก เรียกว่า ลาวา ( Lava ) การเย็นตัวของแมกมามักจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ส่วนการเย็นตัวของลาวาจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้หินอัคนีมีลักษณะต่าง ๆ กัน
หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหลอมละลายที่เรียกว่าหินหนืดซึ่งไหลออกมายังส่วนที่เป็นชั้นของเปลือกโลก ถ้าหินหนืดที่หลอมละลายอยู่ภายในเปลือกโลกเราเรียกว่า แมกมา แต่ถ้าหินหนืดเหล่านั้นผุดขึ้นมาบนผิวโลกเราเรียกว่า ลาวา ดังนั้นเราจะพบหินอัคนีทั้งภายในและภายนอกของเปลือกโลก ลักษณะของหินอัคนีโดยทั่วไปจะเป็นผลึก ไม่มีชั้นปรากฏให้เห็น และไม่มีซากดึกดำบรรพ์อยู่ในเนื้อหินประเภทนี้เลย
การเย็นตัวและการแข็งตัวของหินหนืดที่อุณหภูมิต่างกันทำให้หินอัคนีมีขนาดของผลึกแตกต่างกัน
นักธรณีวิทยาได้ใช้จุดกำเนิดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาแบ่งหินอัคนี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ1. หินอัคนีที่แข็งตัวอยู่ในเปลือกโลกระดับลึก ( Intrusive Igneous Rock ) หินกลุ่มนี้เป็นมวลหินอัคนีขนาดใหญ่ เนื้อหยาบและแข็งตัวอยู่ใต้ผิวโลก หินกลุ่มนี้มีหินสำคัญที่ควรรู้จัก เช่น
1. หินแกรนิต ( Granite ) เป็นหินอัคนีที่เนื้อหินส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่ เขี้ยวหนุมาน ( Quartz ) และแร่ฟันม้า ( Feldspar ) โดยมีแร่ชนิดอื่นๆปะปนอยู่บ้าง เช่น แร่ไมก้า แร่ฮอร์นเบลนด์ แร่แต่ละชนิดมีสีต่างกัน แร่เขี้ยวหนุมานใสหรือขาวขุ่น แร่ฟันม้ามีสีขาวด้านๆ สำหรับแร่ฮอร์นเบลนด์จะมีสีดำเขียวคล้ำ จึงทำให้เราสังเกตเห็นหินแกรนิตมีลักษณะเป็นดอกเป็นดวงปะปนอยู่ในมวลหิน ทั้งนี้เนื้อหินโดยทั่วไปแข็งค่อนข้างหยาบ
2. หินไดออไรต์ (Diorite ) เป็นหินอัคนีที่เนื้อหินมากกว่าร้อยละ 60 ประกอบด้วยแร่ฟันม้าที่มีสีขาวและสีเขียวคล้ำหรือเขียวแก่ รวมทั้งแร่ฮอร์นเบลนด์จึงทำให้เรามองเห็นเนื้อหินไดออไรต์เป็นดอกโดยทั่วไปในเนื้อหิน
3. หินเพอริโดไทต์ ( Peridotite ) เป็นหินอัคนีที่มีปริมาณแร่ซิลิกาอยู่จำนวนน้อย โดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่ไพร็อกซินและออลิวีน หินจำพวกนี้เป็นต้นกำเนิดของเพชร เช่น ในประเทศสหภาพแอฟริกาใต้ นอกจากนี้บางแห่งยังเป็นต้นกำเนิดของแร่ใยหินและโครเมียม
4. หินดูไนต์ ( Dunite ) เป็นหินอัคนีที่ปรากฏอยู่ใต้ผิวโลก มีจำนวนน้อยมาก เนื้อของหินประกอบด้วยแร่ ออลิวีน ที่มีสมบัติทางเคมีเป็นเบสอย่างมาก
2. หินอัคนีที่ขึ้นมาแข็งตัวบนผิวโลก ( Extrusive Igneous Rock ) เป็นหินอัคนีที่เกิดจากลาวาที่ไหลออกมาเย็นตัวอยู่ภายนอกผิวโลก
ลักษณะของเนื้อหินจะมีความละเอียดและหยาบไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัตราการแข็งตัวของลาวา หินกลุ่มนี้มีหินสำคัญที่ควรรู้จัก เช่น

1.หินออบซิเดียน (Obsidian) เป็นหินอัคนีที่เกิดจากลาวาที่ไหลออกมาแข็งตัวภายนอกผิวโลกอย่างรวดเร็วมาก เนื้อหินละเอียด มีรอยแตกคล้ายรอยแตกของแก้ว มีสีน้ำตาลแก่ไปจนถึงสีดำ นักธรนีวิทยาเรียกชื่อหินชนิดนี้ว่า แก้วภูเขาไฟ
2. หินตะกรันภูเขาไฟ (Scoria)
เป็นหินอัคนีที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟที่กระจายขึ้นไปในอากาศแล้วแข็งตัวตกลงมายังพื้นโลก มีสีค่อนข้างแก่ ลักษณะเนื้อหินมีรูพรุนอยู่โดยทั่วไป และมีรูขนาดใหญ่
3. หินพัมมิซ ( Pumice ) เป็นหินอัคนีที่เกิดจากลาวาที่เย็นตัวลงอย่างช้าๆ ทำให้มีรูพรุนขนาดเล็กกว่าหินตะกรัน ภูเขาไฟ ในเนื้อหินมีฟองอากาศเล็กๆ จนดูเหมือนฟองน้ำสามารถลอยน้ำได้ จนบางครั้งเรียกกันว่า หินลอยน้ำ ใช้ทำวัสดุขัดถูภาชนะ
4. หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีที่เกิดจากลาวาที่ยังร้อนและหลอมเหลวอยู่ ซึ่งไหลออกมาจากปล่องภูเขาไฟแล้วมาแข็งตัวอยู่บริเวณที่ต่ำลงมาขณะกระทบกับอากาศเย็นจะแข็งตัวเป็นหินสีดำหรือสีดำสนิท ดูแล้วมีลักษณะคล้ายแก้วสีดำ เนื้อแน่นภายในอาจมีรูพรุนอยู่บ้างเล็กน้อย หินชนิดนี้เป็นบ่อเกิดของแร่รัตนชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลอยชนิดต่างๆ
โดยปกติบริเวณที่พบหินอัคนี ได้แก่ พื้นที่ที่เป็นภูเขาไฟ และบริเวณที่หินหนืดดันแทรกรอยแยกของเปลือกโลกขึ้นมา ในประเทศไทยพบหินอัคนีที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน สระบุรี เพชรบุรี บุรีรัมย์ ชลบุรีศรีสะเกษ สุราษฎร์ธานี เป็นต้น
เนื่องจากหินอัคนีมีความแข็งแกร่งจึงนิยมนำมาทำเป็นแผ่นหินปูถนน หินที่มีลวดลายจะนำไปสลักเป็นรูปปั้นต่างๆ ทำแผ่นป้าย เสาหิน ทำครก โม่หิน ในสมัยโบราณจะนำหินที่มีเนื้อเป็นแก้วมาทำใบหอกและหัวลูกธนู เป็นต้น
ชนิดของหินอัคนี
หินอัคนีเป็นหินที่เกิดก่อนหินประเภทอื่น ๆ ลักษณะของหินอัคนีที่เกิดจากแมกมามักมีผลึกขนาดใหญ่ เนื่องจากแมกมามีการเย็นตัวอย่างช้า ๆ ส่วนหินอัคนีที่เกิดจากลาวามักมีผลึกเล็กละเอียดมากหรือไม่มีผลึก เนื่องจากลาวามีการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว และถ้าลาวามีการเย็นตัวอย่างฉับพลันก็จะได้หินที่มีเนื้อเป็นแก้ว นอกจากนี้ยังมี หินอัคนีบางชนิดที่เกิดพร้อมกับการระเบิดของภูเขาไฟ หินอัคนีที่เกิดในลักษณะนี้จะมีแก๊สดันพุ่งผ่านเนื้อหินขณะเย็นตัวลง ทำให้มีลักษณะเป็นรูพรุน
ตอบ......3......






สืบค้นข้อมูล
เทือกเขาหิมาลัยเกิดจากการชนกันของขอบทวีปตรงส่วนเป็นแผ่นดิน ระหว่างอินเดียกับทวีปเอเชียจนดันเปลือกโลกให้โก่งตัวสูงขึ้นมา เทือกเขาหิมาลัยนี้เป็นที่ตั้งของยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกที่รู้จักกันดี คือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ และถูกพิชิตโดยนักไต่เขาชาวอังกฤษเมื่อปี 1953
เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางเหนือ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางใต้ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) ในทางศัพท์มูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง ที่อยู่ของหิมะ
เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ ได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ
ตอบ.....3.......





สืบค้นข้อมูล
หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ
เราสามารถจำแนกหินที่อยู่บนเปลือกโลกทางธรณีวิทยาออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ
แต่เนื่องจากลักษณะที่หินตะกอนในประเทศไทยเรามักแสดงลักษณะชั้น (bed) เนื่องจากการตกตะกอนให้เห็นเด่นชัด จึงทำให้ในอดีตมีหลายท่านเรียกชื่อหินตะกอนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งว่า หินชั้น แต่ในปัจจุบันพบว่าการเรียกชื่อหินตะกอนว่าหินชั้นนั้น ไม่ค่อยได้รับการนิยมเท่าใดนัก เนื่องจากนักธรณีวิทยาพบว่ามีหลายครั้งๆ ที่หินอัคนีหรือหินแปรก็แสดงลักษณะเป็นชั้นๆเช่นกัน เช่น ชั้นลาวาของหินบะซอลต์ หรือริ้วรอยชั้นเนื่องจากการแปรสภาพของหินไนส์ และในบางครั้งหินตะกอนก็ไม่แสดงลักษณะเป็นชั้นๆก็มี
ดังนั้นทางด้านการศึกษาธรณีวิทยาของประเทศไทยจึงพยายามรณรงค์ให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปให้ใช้ชื่อ หินตะกอน ในการเรียกชื่อหินตะกอนแทนคำว่า หินชั้น
หิน คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูล ซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่างๆ
ตอบ....4........




สืบค้นข้อมูลแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคยูเรเซียและแผ่นธรณีภาคอินเดียในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตมุดตัวของแผ่นธรณีภาค (subduction zone) ซึ่งแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคอินเดีย จะมุดเข้าใต้แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย (ภาพที่ 3) โดยมีแนวอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขึ้นไปทางทิศเหนือจนเข้าไปถึงแผ่นดินของประเทศพม่าและอินเดีย อัตราการมุดตัวเข้าใต้แผ่นธรณีภาคยูเรเซียจะมีอัตราปีละประมาณ 6 เซนติเมตร (USGS, 2004) และตรงเขตมุดตัวจะเกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทร (trench) ซึ่งแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่นี่ ส่งผลให้เกิดแรงเครียดและมีการสะสมพลังงานในแผ่นที่มุดตัว จนในที่สุดก็จะเกิดคลื่นแผ่นดินไหวขึ้น จากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมอยู่ภายในโลกจึงทำให้เกิดรอยเลื่อนมากมาย และเกิดรอยแยกและการทรุดตัวของพื้นท้องทะเลอันดามัน
ตอบ....2........


สืบค้นข้อมูล

แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ

แผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกเมื่อ พ.ศ. 2449

ความเสียหายของอาคารจากแผ่นดินไหวที่โกเบ เมื่อ พ.ศ. 2538
แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์

มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น
  • การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่า แผ่นดินไหวท้องถิ่น ส่วนมากจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึก 5-10 กิโลเมตร ขนาดและความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ รายงานการเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะเช่นนี้เคยมีที่ เขื่อนฮูเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2488 แต่มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย เขื่อนการิบา ประเทศซิมบับเว เมื่อ พ.ศ. 2502 เขื่อนครีมัสต้า ประเทศกรีซ เมื่อ พ.ศ. 2506 และครั้งที่มีความรุนแรงครั้งหนึ่งเกิดจากเขื่อนคอยน่า ในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2508 ซึ่งมีขนาดถึง 6.5 ริกเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คน[1]
  • การทำเหมืองในระดับลึก ซึ่งในการทำเหมืองจะมีการระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้
  • การสูบน้ำใต้ดิน การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป รวมถึงการสูบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิดการเคลื่อนตัวได้
  • การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้
ตอบ.....4.......






สืบค้นข้อมูลอายุซากดึกดำบรรพ์ อายุหิน
การบอกอายุของซากดึกดำบรรพ์หรืออายุหิน สามารถบอกได้ 2 แบบคือ
  • อายุเปรียบเทียบ(Relative Age) คืออายุทางธรณีวิทยาของซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยา
หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา เมื่อเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยา หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาอื่นๆ แทนที่จะบ่งบอกเป็นจำนวนปี ดังนั้นการบอกอายุของหินแบบนี้จึงบอกได้แต่เพียงว่าอายุแก่กว่าหรืออ่อนกว่าหิน หรือซากดึกดำบรรพ์ อีกชุดหนึ่งเท่านั้น โดยอาศัยตำแหน่งการวางตัวของหินตะกอนเป็นตัวบ่งบอก( Index fossil) เป็นส่วนใหญ่ เพราะชั้นหินตะกอนแต่ละขั้นจะต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งที่จะเกิดการทับถม เมื่อสามารถเรียงลำดับของหินตะกอนแต่ละชุดตามลำดับก็จะสามารถหาเวลาเปรียบเทียบได้ และจะต้องใช้หลักวิชาการทางธรณีวิทยา( Stratigraphy )ประกอบด้วย
การศึกษาเวลาเปรียบเทียบโดยอาศัยหลักความจริง มี อยู่ 3 ข้อคือ
1. กฎการวางตัวซ้อนกันของชั้นหินตะกอน(Law of superposition) ถ้าหินตะกอนชุดหนึ่งไม่ถูกพลิกกลับโดยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้ว ส่วนบนสุดของหินชุดนี้จะอายุอ่อนหรือน้อยที่สุด และส่วนล่างสุดจะมีอายุแก่หรือมากกว่าเสมอ
2. กฎของความสัมพันธ์ในการตัดผ่านชั้นหิน(Law of cross-cutting relationship ) หินที่ตัดผ่านเข้ามาในหินข้างเคียงจะมีอายุน้อยกว่าหินที่ถูกตัดเข้ามา
3. การเปรียบเทียบของหินตะกอน(correlation of sedimentary rock) ศึกษาเปรียบเทียบหินตะกอนในบริเวณที่ต่างกันโดยอาศัย
ก. ใช้ลักษณะทางกายภาพโดยอาศัยคีย์เบด(key bed) ซึ่งเป็นชั้นหินที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวของมันเอง และถ้าพบที่ไหนจะต้องสามารถบ่งบอกจดจำได้อย่างถูกต้องถึงว่าชั้นหินที่วางตัวอยู่ข้างบนและข้างล่างของคีย์เบดจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบริเวณด้วย
ข. เปรียบเทียบโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์(correlation by fossil) มีหลักเกณฑ์คือ ในชั้นหินใดๆ ถ้ามีซากดึกดำบรรพ์ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันเกิดอยู่ในตัวของมันแล้ว ชั้นหินนั้น ๆย่อมมีอายุหรือช่วงระยะเวลาที่เกิด ใกล้เคียงกับซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถใช้เปรียบเทียบได้ดี เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่เกิดอยู่กระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้างขวางมากที่สุด ฟอสซิลเหล่านี้เรียกว่า ไกด์ฟอสซิลหรือ อินเด็กฟอสซิล(guide or index fossil)
  • อายุสัมบูรณ์( Absolute age ) หมายถึงอายุซากดึกดำบรรพ์ของหิน ลักษณะหรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา(โดยมากวัดเป็นปี เช่น พันปี ล้านปี) โดยทั่วไปหมายถึงอายุที่คำนวณหาได้จากไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสี ขึ้นอยู่กับวิธีการและช่วงเวลาครึ่งชีวิต(Half life period)
ของธาตุนั้น ๆ เช่น C-14 มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,730 ปี จะใช้กับหินหรือ fossil โบราณคดี ที่มีอายุไม่เกิน 50,000 ปี ส่วน U-238 หรือ K-40 จะใช้หินที่มีอายุมาก ๆ ซึ่งมีวิธีการที่สลับซับซ้อน ใช้ทุนสูง และแร่ที่มีปริมาณรังสีมีปริมาณน้อยมาก วิธีการนี้เรียกว่า การตรวจหาอายุจากสารกัมมันตภาพรังสี(radiometric age dating) การใช้ธาตุกัมมันตรังสีเพื่อหาอายุหิน หรือ ฟอสซิล นั้น ใช้หลักการสำคัญคือการเปรียบเทียบอัตราส่วนของธาตุกัมมันตรังสีที่เหลืออยู่( End product) ที่เกิดขึ้นกับไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีตั้งต้น(Parent isotope)แล้วคำนวณโดยใช้เวลาครึ่งชีวิตมาช่วยด้วยก็จะได้อายุของชั้นหิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ นั้น ๆ เช่น
วิธีการ Uranium 238 - Lead 206 วิธีการ Uranium 235 - Lead 207
วิธีการ Potassium 40 - Argon 206 วิธีการ Rubidium 87- Strontium 87
วิธีการ Carbon 14 - Nitrogen 14
การหาอายุโดยใช้ธาตุกัมมันตรังสีมีประโยชน์ 2 ประการคือ
1. ช่วยในการกำหนดอายุที่แน่นอนหลังจากการใช้ fossil และ Stratigrapy แล้ว
2. ช่วยบอกอายุหรือเรื่องราวของยุคสมัย พรีแคมเบียน
ตอบ.....4.......



สืบค้นข้อมูลเปลือกโลก
เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
  • ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
  • ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล

รูปตัดฉาบของโลกจากบรรยากาศชั้นเอ็กโซสเฟียร์ลงลงมา

แมนเทิล

แมนเทิล (mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์

แก่นโลก

ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่
  • แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
  • แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0

 สภาพบรรยากาศ

สภาพอากาศของโลก คือ การถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่
  1. โทรโพสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 0-10 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยกาศมีไอน้ำ เมฆ หมอกซึ่งมีความหนาแน่นมาก และมีการแปรปรวนของอากาศอยู่ตลอดเวลา
  2. สตราโตสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 10-35 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยากาศชั้นนี้แถบจะไม่เปลื่ยนแปลงจากโทรโพสเฟียร์ยกเว้นมีผงฟุ่นเพิ่มมาเล็กน้อย
  3. เมโสสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่35-80 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีก๊าซโอโซนอยู่มากซึ่งจะช่วยสกัดแสงอัลตร้า ไวโอเรต (UV) จาก ดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลกมากเกินไป
  4. ไอโอโนสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 80-600 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจน จางมากไม่เหมาะกับมนุษย์
  5. เอกโซสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 600กิโลเมตรขึ้นไปจากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจนจางมากๆ และมีก๊าซฮีเลียมและไฮโดรเจนอยู่เป็นส่วนมาก โดยมีชั้นติดต่อกับอวกาศ
โลกมีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย
ตอบ.....3.......

2 ความคิดเห็น:

  1. ให้คะแนนตัวเองค่ะ

    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน = 16 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน = 8 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL) = 16 คะแนน
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม = 38 คะแนน

    รวม 78 คะแนน

    ตอบลบ